การมองเห็นสามารถจดจำและรำลึกภาพในอดีตและแปลภาพข้อมูลออกมาเป็น ตัวหนังสือ ข้อความ ได้
บทความโดย: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์
เด็กวัย 6-18
การเรียนรู้ของเด็กยุคปัจจุบัน ทำให้ปรากฏการณ์สายตาสั้นมีมากกว่าสมัยก่อนหลายเท่า เนื่องจากมีความต้องการในการใช้สายตามากกว่าเด็กสมัยก่อนพอสมควร โดยเฉพาะเด็กไทยที่ต้องอ่านหนังสือ เรียนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ tablet ต่างๆ ดังนั้นการที่เด็กใช้สายตาอย่างจึงนำไปสู่ภาวะสายสั้นที่มากขึ้นได้ และเด็กที่มีสายตาสั้นมากๆเช่นเกิน -10.00 ขึ้นไปเป็นกลุ่มที่ผู้ปกครองอาจจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาลอก
เด็กที่มีปัญหาสายตามักจะมีหลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือหรือ ปฎิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนฝูงเนื่องจากการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและการเรียนรู้ การตรวจสายตาเป็นประจำทุกปีเป็นสิ่งสำคัญ
ทักษะการมองเห็นที่จำเป็นต่อความสำเร็จ
การมองเห็นไม่ใช่แค่ความสามารถที่มองชัดเท่านั้น แต่มันคือความสามารถที่เข้าใจและตอบโต้ในสิ่งที่เห็น ความสามารถในการเห็นเบื้องต้น รวมถึงการใช้ตาทั้งสองข้างทำงานเป็นทีม และ เด็กทุกคนควรที่จะมีทักษะการมองเห็นเหล่านี้เพื่อการอ่านและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
การมองเห็นที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีไรบ้าง ?
1. การมองเห็นที่เห็นชัดในระยะไกล ระยะกลาง และระยะใกล้
2. ตาสามารถโฟกัสได้อย่างรวดเร็วและยังคงความความชัดอยู่ในระยะไกลและใกล้
3. ตาสามารถที่จะมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง
4. ตาสองคู่สามารถทำงานได้อย่างพร้อมเพรียงกัน สามารถกะระยะและความลึกได้อย่างแม่นยำ
5. ใช้ข้อมูลในการมองเห็นที่จะควบคุมทั้งตาและมือสามารถให้ทำงานสัมพันธ์กัน เช่น การวาดภาพ การตีลูกบอล เป็นต้น
ถ้าทักษะการมองเห็นอันใดอันหนึ่งนี้ขาดไปหรือไม่สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เด็กอาจจะทำงานได้อยย่างลำบากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการปวดหัว ตาเมื่อยล้า หรือปัญหาอื่นๆตามมา ผู้ปกครองเองก็ควรตื่นตัวสำหรับอาการที่อาจจะสื่อถึงปัญหาการมองเห็นของเด็กได้