สถานะ

สถานะ

บทความโดย: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์

การมองเห็นคือของขวัญ



ทำไมตาถึงสำคัญมากเหลือเกิน ? กล่าวได้ว่าข้อมูลหรือความรู้ในคลังสมองเรามาจากการมองเห็นถึง 80% ในปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก เรามีอวัยวะเทียมทดแทนอวัยวะหลายๆส่วนในร่างกายที่ขาดหายหรือเสื่อมไป เช่น ขาเทียม แขนเทียม หัวใจเทียม  แต่ไม่ใช่กับดวงตาของเรา ถ้าสูญเสียการมองเห็นแล้ว แม้จะมีตาปลอม แต่ไม่มีตาเทียมที่จะสามารถทำให้เรากลับมามองเห็นได้อีกครั้ง.

บางครั้งเราก็มองข้ามความสำคัญของการมองเห็นไปเหมือนกัน นั่นคือการดูแลรักษาตา สำหรับคนที่มีสายตา นอกเหนือจากการตัดแว่นสายตาตามร้านแว่นตาแล้ว ควรไปพบจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตรเพื่อตรวจสุขภาพตาด้วยอย่างน้อยปีละครั้ง



________________________________________________________________________________________

อาการของคนที่มีปัญหาทางสายตา (โดยย่อ)



สายตาสั้น -  เกิดจากการแสงไปตกกระทบก่อนถึงเรตินา (แสงตกสั้นไป) เมื่อมองไปที่ระยะไกลภาพที่เห็นจึงไม่ชัดเจน แต่คุณก็ยังสามารถมองระยะใกล้ได้ชัดเจน (หน้าชัดหลังเบลอ) อาการส่วนใหญ่ เราอาจจะรู้สึกลำบากในการอ่านป้ายต่างๆเวลาขับรถ หรือเวลาดูหนังแล้วมองไม่เห็น subtitle เป็นต้น

สายตายาว - (ระยะไกล) เกิดจากแสงไปตกกระทบหลังเรตินา (แสงตกยาวไป) เนื่องจากความโค้งตาที่แบนกว่าปกติ หรือ กระบอกตาที่สั้นกว่าคนทั่วไป คนสายตายาวส่วนใหญ่การมองระยะไกลยังคงชัดเจนดี (ในกรณีที่สายตาไม่สูงมากนัก) แต่มักจะมีปัญหาในการมองระยะใกล้ ภาพเบลอและไม่ชัด ปัญหาอื่นที่ตาม เช่น ดวงตาเมื่อยล้า ปวดหัว ปวดตา โดยเฉพาะเวลาอ่านหนังสือ หรือ ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

สายตาเอียง - เกิดจากค่าความโค้งของกระจกตาที่ไม่เท่ากัน ทำให้มีจุดโฟกัสมากกว่า 2 จุด ทำให้แสงไปตกในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ดังนันคนที่มีสายตาเอียงมักจะมีอาการภาพซ้อน และมีอาการปวดหัวตามซึ่งมีลักษณะคล้ายๆไมเกรน ยิ่งเพ่งมากก็ยิ่งอาการปวดหัวขึ้นมากตามมา

สายตายาวตามอายุ - เกิดจากความสามารถในการเพ่งลดลงตามวัย ทำให้โฟกัสระยะใกล้ไม่ได้ (เหมือนกล้องที่ถ่ายระยะใกล้ไม่ได้ ต้องถอยห่างออกมาแล้วจะชัด) ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในวัยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ทำให้เราไม่สามารถโฟกัสภาพระยะไกล้ได้ จนประสิทธิภาพในการทำงานของสมองด้านอื่น ลดลงอย่างรวดเร็ว รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย

สายตาสั้นตอนกลางคืน -  สภาวะที่เราไม่สามารถมองเห็นในระยะไกลได้ชัดเจนในเวลากลางคืน แต่ในเวลากลางวันกลับเห็นชัดเจนดี เนื่องจากในเวลากลางคืนเกิดสภาวะที่แสงน้อยทำให้รูม่านตาขยายมากกว่าปกติ เกิด Spherical abbreration แสงที่ผ่านตรงกึ่งกลางตาดำไปตกที่จุดเรตินา แต่แสงบริเวณรอบๆกลับไปตกถึงก่อน ทำให้การบิดเบือน ดังนั้นเราจึงมองเห็นไม่ชัดเจนนั่นเอง

______________________________________________________________________________________________________________________________

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้