แสงที่มองไม่เห็น, แสงที่ทำร้ายตาเรา
บทความโดย: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์
รังสี UV ไม่ใช่เพียงแค่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งผิวหนัง (10%ของมะเร็งผิวหนังเกิดจาก เปลือกตาของเรา) แต่ยังสามารถก่อให้เกิดโรคตาในหลายๆทาง
รู้หรือไม่ว่าแว่นกันแดดที่ไม่กันUV อันตรายกว่าตาเปล่าอีก?
เนื่องจากไม่มีCoat ที่สะท้อนUV
เวลามองผ่านแว่นกันแดด รูม่านตาของเราจะขยายใหญ่ขึ้น เพราะเนื่องจากสีเลนส์ที่มืดทำให้แสงผ่านได้น้อย ร่างกายได้รับแสงไม่พอจึงขยายรูม่านตาให้ได้ปริมาณแสงเข้ามามากขึ้น แว่นที่กันUV จะตัดรังสี UV ออกไปหมด และไม่ให้รังสี UV สะท้อนเข้าตา
แต่ถ้าหากเราใส่แว่นที่ไม่ได้กัน UV ในขณะที่รูม่านตายังขยายใหญ่อยู่ จะทำให้รับรังสีUV มากกว่าตอนมองตาเปล่าซะอีก แน่นอนเราว่ามองสบายขึ้นเพราะภาพไม่สว่างจนเกินไปแต่ เรารับ รังสีUV เข้าตามากกว่าเดิม
รู้มั้ยว่า UV นั้นมี 3 ประเภท ?
รังสี UV นั้นสามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนตามช่วงคลื่นของแสงและมี3ประเภท ได้แก่ A B C – ตาของเรานั้นไม่สามารถเห็นได้และผิวของเราก็ไม่สามารถรู้สึกได้เช่นกันแต่ว่าต้องได้รับการป้องกัน.
รังสี UVA นั้นเป็นรังสี UVที่เรารู้จักกันมากที่สุด เพราะเป็นรังสีที่ชั้นบรรยากาศของโลกเราป้องกันได้ไม่หมดแล้วทะลุส่องมาถึงเราโดยผ่านชั้นกระจกตา, เลนส์ตาและเข้าถึงจอรับประสาทตาเราได้
รังสี UVB หลุดรอดมาจากชั้นบรรยากาศมาถึงเราได้ รังสี UVBสามารถทำให้เกิดอาการผิวไหม้ได้และเมื่อได้รับเป็นประจำสามารถทำให้ผิวหนังหรือมีรอยย่นเกิดขึ้นมาก่อนวัยอันควรได้
รังสี UVC เป็นแสงที่อันตรายต่อร่างกายเรามากที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะถูกชั้นบรรยากาศโลกสะท้อน(ชั้น Ozone) ผลักกลับไป แต่การสะท้อนกลับนั้นก็ขึ้นอยู่กับ ตัวชั้น Ozoneเองอยู่เหมือนกัน ภาวะโลกร้อนทำให้ชั้นOzone ไม่สามารถป้องกันได้เราจากรังสีUVC ได้เหมือนเมื่อก่อน
ความเสียหายต่อร่างกายของเราถ้าต้องเจอรังสี UV นานๆ?
ตามสถิติ แสงแดดจะแรงมากประมาณช่วง 10 โมง ถึงบ่าย 2 แต่ทว่า ไม่ว่าที่ไหนก็มีรังสี UV ถึงแม้วันทีมีเมฆเยอะ รังสี UV ก็ยังผ่านทะลุเมฆมาอยู่ดี และนี่ก็อันตรายเพราะพวกเรายังคิดว่าแสงแดดแรงๆ ยิ่งมีUVเยอะ อันนั้นไม่เกี่ยว ถึงแม้มีเมฆรังสีUV ก็ยังมีอยู่ดี เพราะแสงUV คือรังสี
ถึงตอนไหนที่เราเริ่มมีอาการ ?
ความเสียหายที่เกิดจากรังสีUVเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการสะสมเป็นนานๆ การได้รับภายในวันสองวันจะยังไม่มีอาการ (ยกเว้นไปจ้องพระอาทิตย์ทั้งวัน อันนี้ตาบอดได้) ปัจจุบันเราอาจจะไม่รู้สึกอะไร แต่จะมีอยู่ช่วงนึงที่ร่างกายเราไม่สามารถทนได้จะเริ่มแสดงอาการออกมา ถึงตอนนี้จะต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจังและบางทีอาจจะถึงขั้นรุนแรงแล้ว แสงแดดสมัยนี้ต่างกับแสงแดดสมัยก่อนเพราะชั้นบรรยากาศของเราโลกถูกทำลายไปเยอะ รังสี UVC จึงเล็ดรอด ออกมากระทบตัวเราได้ สมัยนี้ไม่แปลกเลยที่จะรู้สึกว่าแสงจะจ้ามากกว่าสมัยก่อน
เราสามารถป้องกันตัวเองจากรังสีUV ได้อย่างไร ?
แว่นต้องกันรังสี UV ตามมาตรฐาน เพราะเวลาเรามองผ่านเลนส์ที่มี สีมืด รูม่านตาของเราจะเปิดกว้าง ถ้าแว่นไม่กันรังสี UV จะยิ่งทำให้ ตาเรานั้นได้รับรังสี UV มากกว่าตอนมองตาเปล่าเสียอีก การใส่แว่นกันแดดนั้นจะช่วยป้องกัน รังสี UVได้พอสมควร แว่นกันแดดที่ดีที่สุดคือแว่นกันแดดทรง Sport ที่เป็นทรงโอบหน้าของเราเหมือนกับแว่นที่นักปั่นจักรยานใส่
Contact Lens กับ รังสี UV
สำหรับท่านที่ใส่ Contact lensที่กัน UV อยู่แล้วถือว่าท่านมาถูกทางแล้ว แต่คอนแทคเลนส์ป้องกันแค่ตาดำของเรา ส่วนอื่นๆอย่างเช่น ตาขาวนั้นยังโดนแสงแดดอยู่ ยังมีความเสี่ยงในการเกิดต้อลมนั้นยังมี การใส่แว่นช่วยลดแรงลมที่พัดเข้าตาเราได้
UV 400 หมายถึง เลนส์ที่กันแสงตั้งแต่ 400nm ลงไป (ซึ่งในช่วงนี้รังสี UVA กับ รังสี UVB จะถูกตัดออกไป)
ป้องกันตาของเราด้วยเลนส์ต่างๆ
โดยปกติแล้วเลนส์ Multi-Coat ก็กัน UV อยู่แล้ว แต่จะกันได้เท่าไหร่อยู่ที่ผิวCoat ของแต่ละค่ายเลนส์. เลนส์ที่กันแดดได้ดีที่สุด เลนส์ใสที่กันUV เพราะเวลาเจอแสงจ้า รูม่านตาเราจะหด เรียกได้ว่า UV เข้ามาน้อยลง รองลงมาคือแว่นกันแดดที่กัน UV ตามมาตรฐาน แต่ว่าจะให้ใส่แว่นกันแดดในที่ร่ม ก็อาจจะแปลกๆ เพราะฉะนั้น ปัจจุบันจึงมีเลนส์เปลี่ยนสีเข้ามา เพื่อตอบโจทย์คนที่ไม่สะดวกพกแว่นสองตัว โดยตอนอยู่ในที่ร่มเป็นสีใส อยู่กลางแดดเป็นสีดำ (สีดำมากดำน้อยขึ้นอยู่กับ %ความเข้มที่เลือก) (สีจะดำมากดำน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดสารเปลี่ยนสีที่ทำปฏิกิริยากับ UV และอุณภูมิต่างหาก)
เลนส์ยิ่งสีเข้มยิ่งกัน UV ได้มาก ?
เลนส์ยิ่งสีเข้ม ไม่ได้หมายความว่าจะกันแสงUV ได้มากกว่า สียิ่งเข้มทำให้แสงผ่านเข้ามาได้น้อยลงกว่าเลนส์ที่สีอ่อนกว่าเท่านั้นเอง ไม่ว่าอย่างไรรังสีก็ยังผ่านมาอยู่ดี สิ่งที่สำคัญคือ Coat ที่เคลือบเอาไว้สำหรับกัน UV เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นสีไม่มีผลต่อประมาณUV ที่ไหลผ่านเข้าตา (สีจะเข้มเท่าไหร่ก็ได้แต่ต้องUV ตามมาตรฐาน)
ข้อดี
เวลาแสงจ้ามากเราจะรู้สึกสบายตาเพราะแสงไม่ผ่านเข้าตามากเกินไป
ข้อเสีย
เลนส์สีเข้มจะทำให้รูม่านตาเราขยาย โอกาสที่ทำให้แสงUVเข้าตาเยอะกว่า (ถ้าเลนส์นั้นไม่กัน UV ตามมาตรฐาน)