สายตายาว

สายตายาว

บทความ: ภาสันต์-สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์

ตรวจทาน: พลอยชมพู ภาสุระพันธ์ , O.D

 

สายตายาว Hypermetropia (Not focus on time)

 





 

“เกิดจากแสงตกเลยจอรับภาพ (แสงตกยาวไป)” ทำให้มองระยะไกลหรือใกล้ไม่ชัด อย่างเช่น อ่าน subtitle บน TV ในโรงหนัง หรือ ขับรถไม่ชัด

 

สาเหตุ

 

กระจกมีกำลังหักเหน้อยเกินไปทำให้แสงตกไปยังด้านหลังจอรับภาพ

คล้ายกับกระจกตา เลนส์ตามีกำลังหักเหน้อยเกินไปทำให้แสงไปโฟกัสที่หลังจอรับภาพ

 

เนื่องจากความยาวของกระบอกตาสั้นเกินไป ทำให้แสงไปโฟกัสอยู่ที่ด้านหลังจอรับภาพ

*กระบอกตาที่สั้นกว่ากระบอกตาปกติ 1 มิลลิเมตร ส่งผลทำให้เกิดสายตายาวได้ถึง +3.00 D

 

4. ในเคสที่พบได้น้อย คือสายตายาวที่มีสาเหตุจาก เบาหวาน, กลุ่มภาวะลูกตาเล็กผิดปกติ, มะเร็งในลูกตา เป็นต้น

5. เด็กแรกเกิดช่วงแรกๆ จะมีสายตายาวเป็นหลัก เด็กบางคนมีสายตายาว +3.00D แต่พอโตขึ้นมาเรื่อยๆ ความยาวของกระบอกตาขยายขึ้นด้วยทำให้ แสงสามารถโฟกัสบนจอรับภาพได้พอดี (กลไกปรับสายตาสู่สภาวะปกติของมนุษย์ในวัยแรกเกิด)

6. คนสายตายาวมองไกลอาจจะมีปัญหาในการมองภาพ 3 มิติ

 

อาการ

 

ภาพที่คนสายตายาวนั้นจะไม่ต่างกับคนที่มีสายตาสั้นเลย แต่คนที่มีสายตายาวจะได้เปรียบคนที่มีสายตาสั้นเวลามองไกลนิดนึงคือ แค่เพ่งก็มองชัดแล้ว (ระดับความสามารถขึ้นกับกำลังเพ่งที่มีในแต่ละช่วงอายุ)

อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีสายตายาวซ้อนเร้นไม่มาก (ที่ใช้การแพ่งของตัวเองแก้ไขปัญหา) อย่างเช่น +0.50 D บุคคลเหล่านี้มักจะมีอาการแบบนี้

 

1.  มีอาการปวดหัวซ้อนเร้น (ปวดท้ายทอย)



1.1) คนที่มีสายตายาวไม่มากอย่างเช่น +0.50 D ยังสามารถมองชัดได้ทั้งระยะใกล้และไกล โดยอาศัยความสามารถในการเพ่ง

1.2) ถ้ามีสายตายาวมีไม่มาก แค่เพ่งภาพก็จะกลับมาชัดเหมือนคนปกติแล้ว

1.3) แต่เพราะต้องเพ่งตลอดเวลา(โดยไม่รู้ตัว) สายตาจึงเหนื่อยล้า เกิดอาการเพลียหรือปวดศีรษะตามมา



2. ง่วงนอนเวลาอ่านหนังสือ


2.1) อ่านหนังสือได้แปบเดียว สาเหตุนั้นมาจากการที่กล้ามเนื้อตาต้องเพ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้อ่านหนังสือแปบๆแล้วจะเหนื่อยตามากกกว่าคนที่มีสายตาปกติ

 

 

กลไกการทำงานของดวงตาเราเวลามองวัตถุระยะใกล้

 

 

เวลามองวัตถุใกล้ๆ จุดโฟกัสจะถูกผลักไปด้านหลังอัตโนมัติ ถ้าไม่มีการปรับโฟกัส ภาพจะเบลอ

 

ร่างกายมีการปรับโฟกัสโดยการหดกล้ามเนื้อให้เลนส์โป่งพองเพื่อเพิ่มกำลังขยาย ทำให้จุดโฟกัสถูกดึงขึ้นมาด้านหน้า(ตกบนจอรับภาพพอดี)เพื่อให้ภาพชัด

 

ดังนั้นคนที่มีสายตายาวนั้นจะเสียเปรียบคนสายตาสั้นในเรื่องการมองระยะใกล้ เช่น การอ่านหนังสือ เพราะเนื่องจากจุดโฟกัสปกติก็ไปตกอยู่ด้านหลังจอตาแล้ว เวลาอ่านหนังสือจุดโฟกัสจะถูกผลักออกไปด้านหลังมากขึ้นอีก เพราะฉะนั้นจะต้องเพ่งมากกว่าคนที่มีสายตาสั้น

 

**อาการเหล่านี้มักเป็นปัญหากับบุคคลสายตายาวระยะใกล้มากกว่า



ตัวอย่างที่ดีคือบุคคลที่มีสายตายาวสูงอายุ มักจะเกิดอาการเมื่อยตาและอ่านหนังสือหรือทำงานระยะใกล้ได้แปบเดียว (เพราะกำลังเพ่งน้อยกว่าในวัยเด็ก)



**เด็ก: เด็กที่มีสายตายาวเยอะๆ ตั้งแต่เด็กจะมีความเสี่ยงเกิดตาขี้เกียจได้ (Amblyopia)

 

ในกรณีนี้อยากให้นึกถึง ถ้าเราแขนหักแต่ไม่ทำกายภาพบำบัด จะทำให้แขนไม่สามารถใช้งานไดเต็มที่เหมือนก่อนที่แขนจะหักได้

 

 

แก้ไข

 

 

1. ใส่แว่น 

เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยบุคคลที่มีสายตายาวจะต้องใช้เลนส์นูนซึ่งมีความสามารถในการรวมแสง จากที่กล่าวข้างต้น สายตายาวเกิดจากการที่แสงไปโฟกัสหลังจอรับภาพ ดังนั้นเลนส์นูนจะสามารถดึงจุด โฟกัสให้มาตกอยู่ที่บนจอรับภาพได้

 

 

2. คอนแทคเลนส์

คล้ายกับแว่นตา แต่เลนส์นูนนั้นจะถูกวางอยู่ที่บนกระจกตาของเราเท่านั้นเอง

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้