บทความ: สุระพันธ์ ภาสุระพันธ์
ตรวจทาน: นักทัศนมาตร พลอยชมพู ภาสุระพันธ์
"เชื่อหรือไม่ มากกว่า 6 ใน 10 คนของผู้ที่มีสายตาเคยทดลองใส่คอนแทคเลนส์ทั้งนั้น"
เคยสงสัยมั้ยว่าใครเป็นคนคิดค้นคอนแทคเลนส์?
1508 – ไอเดียของLeonardo Davinci
ย้อนกลับไป 500 กว่าปีเลย ไอเดียของคอนแทคเลนส์นั้นได้อิทธิพลมาจาก Leonardo Davinci (1452-1519) จิตรกรชื่อดังจากประเทศอิตาลี
โดย Leonardo ได้วาดภาพสเกตซ์และเสนอไอเดียว่า การมองเห็นของเรานั้นสามารถถูกบิดเบือนได้ถ้านำน้ำมาใส่ไว้ในถ้วยใสแล้วมองผ่านละทุไปเราจะเห็นภาพอีกแบบ แต่วิธีนี้ดูจะใช้ไม่ได้จริงสำหรับเทคโนโลยีในสมัยนั้น
1663 - Descartes’ design ต้นความคิดคอนแทคเลนส์ติดกับตา
ประมาณ150ปีต่อมา Descartes เสนอวิธีอื่นโดยการสร้างท่อขึ้นมาโดยนำเลนส์ไปไว้ตรงปลายท่อใส่น้ำแล้วนำท่อติดกับดวงตา
อย่างไรก็ตามวิธีดูจะใช้จริงไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่เพราะว่าถ้าทำท่อติดไว้กับตา ผู้ใส่จะไม่สามารถกระพริบตาได้ แต่ถือว่าไม่ได้ใช้ไม่ได้จริงซะทีเดียว เพราะบุคคลที่นำมาพัฒนาทีหลังได้ประยุกต์ไอเดียนี้โดยการใช้เลนส์ให้ติดกับกระจกตาไปเลย
1827 - ไอเดียของ Herschel
ปี 1823 นักดาราศาสตร์ Sir John Herschel (1792-1871) ได้เสนอไอเดียเกี่ยวกับทำแม่พิมพ์ของดวงตาขึ้นมาและทำเลนส์ที่เหมาะกับดวงตานั้นๆขึ้นมาเลย ไอเดียนี้ทำให้สามารถศึกษาการใช้เลนส์แก้ไขสายตาได้ถ้านำมาไว้บนกระจกตา โดยที่เค้าผลิตคอนแทคเลนส์แก้วและนำมาใส่ให้ใกล้กระจกตาให้มากที่สุด อีกทั้งเค้ายังคิดว่าให้ผลิตเจลที่เป็นสารที่เชื่อมระหว่างคอนแทคเลนส์แก้วกับกระจกตาด้วย
50 ปีต่อมามีบุคคลไม่ทราบชื่อสามารถคิดค้นเลนส์ที่สามารถนำมาวางไว้บนกระจกตาได้แต่ยังเป็นประเด็นอยู่ว่าใครเป็นคนคิดค้นที่สามารถสร้างเลนส์ที่นำมาใช้ได้จริง
การทำแม่พิพม์อาจจะน่ากลัวสักหน่อยแต่นี่เป็นตัวอย่างทำแม่พิพม์คอนแทคเลนส์สำหรับดวงตานั้นๆในปี 1948
1887 – คอนแทคเลนส์เริ่มจะสามารถใช้ได้จริง
ยุครุ่งเรืองของเทคโนโลยีเริ่มต้น การผลิตแก้วและวัสดุต่างๆเริ่มดีขึ้น การผลิตเลนส์ที่สามารถใชได้จริงเริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น นักวิจัยแต่ทดลองและผลิตซ้ำไปซ้ำมา
บางรายงานก็บอกว่าชาวเยอรมันที่ทำอาชีพผลิตแก้ว F.A. Muller ใช้ไอเดียของ Herschel (การสร้างแม่พิมพ์ดวงตา) และสร้างคอนแทคเลนส์แก้วได้ในปี 1887 คอนแทคเลนส์ที่เค้าผลิตนั้น ไม่ได้ตั้งแต่ผลิตขึ้นมาเพื่อรักษาการมองเห็น แต่เน้นไปทางแก้ไขปัญหาโรคตามากกว่า
บางรายงานก็กล่าวไว้ว่าหมอชาวสวิช Adolf E. Fick (1829-1901) และช่างแว่นในปารีส Edouard Kalt สร้างคอนแทคเลนส์กระจกทรายสามารถใช้งานแก้ไขสายตาได้จริงในปี 1888
จริงๆแล้ว 3 คนนี้ต่างคนต่างทำการวิจัยและไม่รู้เลยว่าใครทำก่อนใครทำหลัง
คอนแทคเลนส์รุ่นแรกสุด ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนกับคอนแทคเลนส์ยุคปัจจุบันที่เราใช้กันนะครับ รุ่นแรกดึกดำบรรพ์ ตัวคอนแทคเลนส์จะใหญ่มากถึงขนาดครอบทั้งลูกตาเลย (รวมไปถึงตาขาวด้วย) แต่ในสมัยนี้มีคอนแทคเลนส์แบบที่ครอบทั้งดวงตาเลยนะครับจะเรียกว่า Scleral lens และ Scleral lens ยุคแรกนั้นทำมาจากแก้วนะครับ สมัยนั้นยังไม่มีพลาสติก
Scleral lens ซึ่งทำมาจากกระจกทั้งหมด เวลาใช้จะครอบทั้งดวงตา สามารถแก้ไขการมองเห็นได้จริง แต่เนื่องจากเทคโนโลยีจำกัดในสมัยนั้น คอนแทคเลนส์แก้วไม่สามารถนำพาออกซิเจนเข้ากระตาได้ทำให้กระจกตาได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คนที่ใช้คอนแทคเลนส์แก้วในยุคนั้นใส่ได้ไม่กี่ชม.ก้ต้องถอดออก
การทำ Scleral lens ให้ขนาดพอดีกับดวงตานั้นยากมาก การใช้เลนส์ประเภทนี้สมัยก่อนต้องใช้สารหล่อลื่นเทียมเป็นหลัก เท่านั้นยังไม่พอต้องระวังความเปราะบางของคอนแทคเลนส์แก้วแตกด้วย ถ้าแตกก็สาหัสเลยครับตาบอดได้ (ขนาดคอนแทคเลนส์ยุคปัจจุบันแค่ขาดยังรู้สึกเคืองตาเอามากๆเลยแล้วถ้าเป็นคอนแทคเลนส์แก้วหละ)
ดังนั้นคอนแทคเลนส์แก้วไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง (กล่าวได้ว่าใช้ได้แค่ในห้องทดลอง) ด้วยสาเหตุนี้คอนแทคเลนส์จึงไม่ได้รับการยอมรับและดูเหมือนว่าการวิจัยคอนแทคเลนส์ในยุคนั้นต้องรอไปอีกนานเลย
(Scleral lens เลนส์ แบบใหม่)
แต่เดี๋ยวนี้มีคอนแทคเลนส์ Scleral lens แบบใหม่ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ สามารถแก้ไขโรคตาได้ต่างๆได้ดี
1936 - คอนแทคเลนส์พลาสติกถือกำเนิด
William Feinbloom (1904-1985)
ในปี 1936, นักทัศนมาตรในนิวยอร์ก William Feinbloom (1904-1985) ได้คิดค้น คอนแทคเลนส์แบบครอบทั้งดวงตาที่พัฒนามาจากคอนแทคเลนส์แก้ว โดยได้ใช้ส่วนผสมระหว่างแก้วกับพลาสติก ทำให้มีน้ำหนักเบากว่าและปลอดภัยกว่าคอนแทคเลนส์แก้ว อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคอนแทคเลนส์ลูกผสมรุ่นแรกเลยก็ได้ อีกทั้ง Feinbloom ยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตร คอนแทคเลนส์หลายระยะหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ มัลติโฟคอลคอนแทคเลนส์
1948 – คอนแทคเลนส์คอเนียร์
Kevin Tuohy (1919-1968)
ในปี 1948, ช่างแว่นตาในรัฐแคลิฟอร์เนีย Kevin Tuohy (1919-1968) ได้ย่อส่วนคอนแทคเลนส์จากใหญ่ๆให้เหลือขนาดเท่ากระจกตาเรานั้นเอง โดยเค้าได้นำเสนอคอนแทคเลนส์ Gas Permeable lens หรือ GP lens ที่มีลักษณะเหมือนกับคอนแทคเลนส์ที่เราใช้ในปัจจุบันอยู่เป็นคนแรก คอนแทคเลนส์ชนิดนี้ทำมาจากพลาสติกทั้งหมดและถูกเรียกชื่อใหม่ว่า คอเนียร์เลนส์ ต่างกับคอนแทคเลนส์ประเภทก่อนๆที่เรียกว่าสเกอล่าร์เลนส์ (คอนแทคเลนส์ที่ครอบทั้งลูกตา) เพราะคอเนียร์เลนส์นั้นมีขนาดเล็ก โดยที่เส้นผ่าศูนย์กลางของตัวเลนส์เล็กกว่าคอนแทคเลนส์รุ่นก่อนหน้าและมีขนาดครอบคลุมไม่เกินส่วนของกระจกตาเท่านั้นเอง
สาเหตุของการย่อส่วน, การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะอุบัติเหตุ ในขณะที่ Kevin กำลังขัดเลนส์อยู่ โดยส่วนที่ครอบตาขาวของ Scleral lens หลุดออกเหลือแต่ส่วนของกระจกตา เค้าสังเกตุว่าส่วนนี้เล็กพอๆกับกระจกตาเค้าจึงขัดเลนส์ให้เป็นรูปและทดลองใส่ด้วยตัวเองแล้วค้นพบว่านี่คือการพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง เขาจึงเริ่มผลิตเลนส์ที่มีขนาดเล็กกว่ากระจกตา
การทดลองได้ดำเนินการต่อมาเรื่อยๆ เพื่อหาคอนแทคเลนส์ที่บางและใส่สบายมากกว่า จนถึงยุค1960 ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
1960 - ต้นแบบของคอนแทคเลนส์ยุคปัจจุบัน เนื้อวัสดุแบบชนิดนุ่มถูกคิดค้นสำเร็จ
Polymethyl methacrylate (PMMA)
ถึงแม้จะการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ คอนแทคเลนส์พลาสติกรุ่นแรกๆยังเป็นพลาสติกแบบแข็งที่เรียกสั้นๆว่า Hard lens ทำมาจากเนื้อวัสดุ polymethyl methacrylate (PMMA) เนื้อวัสดุ PMMA เป็นวัสดุที่ไม่ให้อากาศไหลผ่านเข้าตัวเลนส์ ดังนั้นจะถูกออกแบบให้ขยับได้ทุกครั้งเมื่อมีการกระพริบตา ต่อการกระพริบตา 1 ครั้ง กระจกตาจะได้รับออกซิเจนจากน้ำตาที่เราปล่อยออกมาก ยิ่งกระพริบตาเยอะน้ำตาก็จะออกมาเยอะและทำให้กระจกตาได้รับออกซิเจนมากขึ้น สมัยนั้นถ้า Hard lens ถูกผลิตมาอย่างดีๆสามารถใส่ได้ถึง 16ชม. ด้วยเทคโลโนยีเกือบ 70ปีที่แล้วการคิดค้นวัสดุนี้ถือเป็นการกระโดดก้าวหน้าในวงการคอนแทคเลนส์ Hard Contact lens ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงยุค 1950 และ 1960
Soft contact lens
Otto Wichterle (1913-1998)
การกระโดดก้าวหน้าที่สุดในประวัติศาสตร์คอนแทคเลนส์นั้นต้องมาจากการคิดค้น Soft contact lens ได้สำเร็จ ในปี 1959 โดยที่นักเคมีจากสาธารณรัฐเช็ค Otto Wichterle (1913-1998) และ Drahoslav Lim ได้คิดค้น วัสดุ hydroxyethylmethacrylate (HEMA-ฮีม่า) ได้สำเร็จ โดยเนื้อ HEMA นี้จะมีความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของดวงตาน้อยกว่ากว่าวัสดุรุ่นก่อน
ก่อนหน้านี้ในปี 1957 Wichterle พยายามสร้างคอนแทคเลนส์จากแม่พิมพ์โดยใช้เนื้อวัสดุ HEMA ที่เค้าคิดค้นให้ได้ แต่เมื่อหล่อออกมา ตัวเลนส์หนาไป ทำให้เวลาจะตัวเลนส์ขาดเวลาแกะเอาออกจากแม่พิมพ์ สุดท้ายหลังจากพยายามอยู่เรื่อยๆ จนไม่มีผู้สนับสนุนเงินทุนที่จะทำการทดลองต่อ เค้าจึงทำการทดลองที่บ้านเค้าเอง ทดลองซ้ำไปซ้ำมาจนสร้าง Soft contact lens แบบที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ได้สำเร็จ
1971 - คอนแทคเลนส์ Soflens ถือกำเนิด
(โฆษณา คอนแทคเลนส์ของบริษัท Bausch and Lomb ในปี1978)
การค้นพบวัสดุ Hydrophilic (water-loving) hydrogel soft contact lens ของ Wichterle and Lim ทำให้ในปี 1971 คอนแทคเลนส์สามารถผลิตเป็นในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จและได้รับอนุญาตจาก FDA ในประเทศอเมริกา และ จึงได้ถือกำเนิดแบรนด์คอนแทคเลนส์ที่เรารู้จักกันดี Bausch and Lomb “Soflens”. คำว่า Soft lens ก็มาจากคำว่าคอนแทคเลนส์ชนิดนุ่มนี่เองครับ
1986 – คอนแทคเลนส์ใช้แล้วทิ้งถือกำเนิด
(คอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งของ Acuvue ในรุ่นแรกๆ)
ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ยุคก่อนๆ มักจะมีปัญหาเรื่องความสะอาด แบคทีเรียและน้ำยาแบบเก่าที่ไม่ทันสมัยเท่ากับเทคโนโลยีปัจจุบัน คนที่ใช้คอนแทคเลนส์นั้นมีโอกาสติดเชื้อจากแบคทีเรียมาก ดังนั้นคอนแทคเลนส์ใช้แล้วทิ้งจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อรักษาความสะอาดต่อดวงตา
คอนแทคเลนส์สมัยก่อนเค้าทำแม่พิพม์ยังไงดูด้านล่างได้ครับ
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับแล้วพบกับบทความใหม่เร็วๆนี้ครับ
References:
https://www.allaboutvision.com/contacts/faq/when-invented.htm
https://www.lenstore.co.uk/eyecare/history-contact-lenses
https://eu-ireland-custom-media-prod.s3-eu-west-1.amazonaws.com/UKMEAEU/eSample/9780702071683-sample-chapter.pdf
http://www.discoveriesinmedicine.com/Com-En/Contact-Lens.html
http://www.antiquespectacles.com/topics/contacts/contacts.html
https://www.1800contacts.com/eyesociety/da-vinci-to-disposable-a-history-of-contact-lenses/
https://www.ebid.net/us/for-sale/1978-bausch-lomb-soflens-contact-lenses-ad-159251001.htm
https://www.college-optometrists.org/the-college/museum/online-exhibitions/virtual-contact-lenses-gallery/hard-contact-lenses.html
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/how-contact-lenses-were-made-and-fitted-1948-180957028/
http://www.tresbohemes.com/2017/05/otto-wichterle-contact-lens/